วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ






             การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า ใน ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อ ผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น ประเภทคือ

            1. โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพ เหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็น เวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารทำละลายต่าง ๆ   ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสาเหตุและผลกระทบ

            2. โรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนประกอบอาชีพ โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกันและการประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดโรค อาจได้แก่ พันธุ์กรรม พฤติกรรมสุขภาพของคนประกอบอาชีพ ท่าทางการประกอบอาชีพ ลักษณะหรือระบบงานที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น โรคปวดหลังจากการประกอบอาชีพ โรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น โดยสรุป การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ถ้ามีปัจจัยจากภายนอกมาทำให้เกิดโรค ก็ถือเป็นโรคจากอาชีพ เช่น โรคพิษตะกั่ว (ตะกั่วไม้ใช่สารองค์ประกอบของร่างกาย) โรคซิลิโคสิส (ฝุ่นหินเป็นสารแปลกปลอมในปอด) เป็นต้น แต่ถ้ามีสาเหตุจากปัจจัยส่วนตัวร่วมกับสภาพและสิ่งแวดล้อมการประกอบอาชีพทำ ให้อาการของโรคมากขึ้น หรือเกิดความผิดปกติชัดเจนยิ่งขึ้น ก็ถือเป็นกลุ่มโรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคปวดหลัง ซึ่งคนที่มีอริยาบถไม่ถูกต้องมีแนวโน้มปวดหลังได้ง่าย เมื่อต้องมาประกอบอาชีพรีบเร่งหรือยกย้ายของหนัก ๆ ก็ยิ่งทำให้ปวดหลังง่ายขึ้นหรือทำให้อาการปวดหลังกำเริบมากขึ้น เป็นต้น

ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/481623&h 

โรคติดต่อทางพันธุกรรม


                   โรคติดต่อทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติของยีนส์  ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของโครโมโซม จากพ่อและแม่ไปสู่ลูก โรคทางพันธุกรรมยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ เมื่อเป็นแล้วจะเป็นไปตลอดชีวิต โรคติดต่อทางพันธุกรรม สามารถแบ่งความผิดปรกติ ของโครโมโซมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความผิดปรกติของ โครโมโซมเพศ และความผิดปรกติของโครโมโซมร่างกาย

11 โรคติดต่อ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกมีดังต่อไปนี้

1.โรคธาลัสซีเมีย

เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนส์ที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11
เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนส์ตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะธาลัสซีเมีย
2.โรคซีสติกไฟโบรซีส
อาการจะเกิดขึ้นกับปอด และมีอาการอื่น ๆ เกิดกับตับอ่อน ตับ และลำไส้ ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในโปรตีนขนย้ายคลอไรด์และโซเดียมบนผิวเซลล์เยื่อบุ ทำให้มีสารคัดหลั่งข้นเหนียวกว่าปกติ
3.โรคคนเผือก
เกิดจากยีนส์ที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างเม็ดสีขึ้นในคนที่มีลักษณะเผือก โดยส่วนมากแล้ว ภาวะผิวเผือกจะมีผลมาจากการถ่ายทอดยีนส์ด้อยมาจากทั้งพ่อและแม่ โรคคนเผือกไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่เป็นภาหะนำโรคไม่สามารถติดกันได้ด้วยการสัมผัสหรือทางเลือด
4.โรคดักแด้เป็นอาการความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเกิดจาก การถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหรืออาจเกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะราย
5.โรคท้าวแสนปม
เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม ลักษณะที่พบคือ ร่างกายจะมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่แตกต่างกัน
6.โรคลูคีเมีย
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวจำนวนมากในไขกระดูก จนเบียดบังการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่วนเม็ดเลือดขาวที่สร้างนั้น ก็เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน จึงไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้
7.โรคเบาหวาน
เกิดจากสภาพร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามความเหมาะสม ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ผลของการเป็นเบาหวานทำให้ผู้ป่วยมีอาการมีน้ำตาลในเลือดสูง
8.ดาวน์ซินโดรม
เป็นความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
9.ตาบอดสี
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็นอาการที่เห็นสีต่างกันไปจากสีเดิม เห็นสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่ง
10.โรคฮีโมฟีเลีย
เป็นอาการเลือดออกง่าย หยุดยาก อาการจะมีเลือดออกตามข้อ ร่างกายจะมีรอยเขียวช้ำเป็นจ้ำ ๆ
11.ภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี
เด็กที่เป็นโรคนี้จะตัวเหลืองมากกว่าปกติ และเมื่อได้รับสารบางอย่างจะทำให้เส้นเลือดแดงแตก ภาวะนี้เกิดจากพันธุกรรมจากพ่อแม่
               ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่อยากให้ลูกเกิดมาเป็นโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ คุณควรวางแผนชีวิตตั้งแต่เริ่มแต่งงาน จนถึงวางแผนการมีลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบร่างกายก่อนการมีลูกจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ

ที่มา: http://www.maerakluke.com/topics/4607        

อาชีพที่อยากเป็น

นักโบราณคดี

นักโบราณคดีปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าของโบราณ ประวัติของคน ,วัตถุ, สิ่งของ ซึ่งอาจจะเป็นโบราณวัตถุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไป หรือไม่ถึงร้อยปีแต่เป็นสิ่งดีงามควรแก่การรักษาไว้ นักโบราณคดีจะใช้หลักการสันนิษฐานประกอบการอธบายเรื่องราวความเป็นอยู่ของคนในอดีตได้ ทำให้เห็นคุณค่าความสำคัญของโบราณในอดีต นักโบราณคดีอาจเป็นผู้ดูแลรักษา ซ่อมแซมโบราณวัตถุ โบราณสถานให้คงไว้ต่อไป เพื่อให้เกิดความผูกพันและภูมิใจในชาติ